
กนอ. ลงนาม 7 พันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น พัฒนานิคมฯ มาบตาพุดสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
กนอ. ลงนาม 7 พันธมิตรไทย-ญี่ปุ่น พัฒนานิคมฯ มาบตาพุดสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรม แห่ง ประเทศไทย (กนอ.) พร้อมด้วย 7 พันธมิตรองค์กร ธุรกิจไทย และ ญี่ปุ่น ร่วม ลงนาม บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ (MOC) ผ่าน ระบบออนไลน์ ในโครงการ ศึกษา
แนวทาง ในการพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรมที่ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutral Industrial Estate) ในพื้นที่ มาบตาพุด
โดย 7 พันธมิตร ประกอบด้วย นายปิยบุตร จารุเพ็ญ ก รรมการ ผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด, ผู้บริหารบริษัท โอซาก้า แก๊ส จำกัด, นายนพดล ปิ่นสุภา ประธานเจ้าหน้าที่ ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่ และ
โครงสร้างพื้นฐาน บมจ. ปตท. (PTT), นาง วราวรรณ ทิ พพาวนิช รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC), นายฮิโรยูกิ นัมบุ เจ้าหน้าที่ ฝ่ายบริหาร บริษัท คันไซ อิเลกทริค เพาเวอร์ จำกัด, นายโน
ริอากิ ยามาชิตะ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ป ระเทศไทย จำกัด และ นายชิเกคิ มาเอดะ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด
นายวีริศ กล่าวว่า การ ลงนาม ในครั้งนี้ ทุกฝ่ายมีเจตจำนง ร่วมกัน ใน การ ส่งเสริมความร่วมมือ ในโครงการศึกษาแนวทาง ในการพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรม ที่มุ่งสู่ความเป็นกลาง ทางคาร์บอน” ในพื้นที่มาบตาพุด ซึ่ง
สอดคล้อง กับเป้าหมาย ของประเทศไทย ที่ต้องการจะ เป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ผ่านการ ดำเนินกิจกรรม ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว
โดย กนอ. มุ่งมั่น สนับสนุนเป้าหมาย ดังกล่าว และ ยกระดับมาตรฐาน นิคมอุตสาหกรรม ด้วยการพัฒนา นิคมอุตสาหกรรมต้นแบบ 4.0 ในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) รวมถึง นิคมอุตสาหกรรม Smart
Park ซึ่งจะ อาศัยการออกแบบ ที่ยั่งยืน ด้วยสถาปัตยกรรม และ เทคโ นโลยีที่สวยงาม และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับ คุณภาพ และ มาตรฐานชีวิตการทำงาน ในนิคมอุตสาหกรรม
นอกจาก การมุ่งสู่ความยั่งยืนแล้ว นิคมอุตสาหกรรม Smart Park จะนำ เทคโนโลยี ประหยัดพลังงาน เพื่อเพิ่มความสามารถ ในการผลิต ลดการใช้พลังงาน ส่งเสริม การจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สูงสุด และ หันมา.
ใช้พ ลังงาน สะอาดที่หลากหลาย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวภาพ พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น รวมถึง ยกระดับ ระบบการขนส่ง ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ และ ระบบบริหารจัดการพลังงาน
“นโย บาย BCG ของ รัฐบาล มุ่งมั่นพัฒนา เศรษฐกิจผ่านการลดคาร์บอน และ มาตรการ ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อบรรลุเป้าหมาย ลดการปล่อยคาร์บอน ตั้งแต่ การผลิตไปจนถึง การจัดเก็บ การขนส่ง และ การใช้งาน สิ่ง
สำ คัญ คือต้องกระจาย แหล่งพลังงาน เพื่อเพิ่ม การใช้พลังงานหมุนเวียน ให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะ การผลิตพลังงานไฮโดรเจน ด้วยพลังงานหมุนเวียน และ พลังงานสะอาดที่หลากหลาย เช่น ชีวมวล ซึ่ง ไฮโดรเจนเหลว
สา มารถจัดเก็บ และ ขนส่งได้ง่ายกว่าไฟฟ้า เมื่อใช้ และ แปลงเป็นไฟฟ้า ไฮโดรเจนจะไม่ปล่อยของเสีย นอกจากน้ำ” นายวีริศ กล่าว
พร้ อมระบุว่า การ ลงนาม ร่วมกัน ในวันนี้ คาดว่า จะก่อให้เกิดประโยชน์ และ เป็นความท้าทาย ในการนำไฮโดรเจน และ พลังงานสะอาดอื่นๆ มาใช้ในอนาคต นอกจากนี้ ความร่วมมือครั้งนี้ ยังมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสนับสนุน
วิสั ยทัศน์ ประเทศไทย 4.0 ของ รัฐบาลไทย ที่มีต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม รุ่นต่อไป ผ่านการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งเขตเศรษฐกิจ ภาคตะวันออก (อีอีซี) มีบทบาทสำคัญ อย่างมาก
ทั้ง นี้ รัฐบาลญี่ปุ่น มีเป้าหมาย ในการมีส่วนร่วม พัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานคาร์บอนต่ำ ทั่วโลก ผ่าน “ยุทธศาสตร์การ ส่งเสริมระบบ โครงสร้างพื้นฐาน ในต่างประเทศ 2025” และ “กลยุทธ์การเติบโต สีเขียวผ่านการบรรลุ
คว ามเป็นกลาง ของคาร์บอน” ซึ่งการศึกษา ความเป็นไปได้นี้ ได้รับการสนับสนุน จากกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และ อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (METI)
ภายใต้โครงการ “การศึกษาความเป็นไปได้ ในการปรับใช้ โครงสร้างพื้นฐาน ด้านพลังงาน คุณภาพสูง ในต่างประเทศ” เป็นการเสริมสร้าง ความสัมพันธ์ ที่ใกล้ชิด ที่ยาวนาน ระหว่างทั้งสองประเทศ
สำ หรับบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือ ครั้งนี้ มีกำหนด ระยะเวลา 3 ปี โดยทุกฝ่าย จะประสานความร่วมมือ ระหว่างกัน ภายใต้บันทึกข้อตกลง ความร่วมมือ และ นำข้อมูลที่ได้ รับไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ ของ
โค รงการพัฒนา “นิคมอุตสาหกรรม ที่มุ่งสู่ความเป็นกลาง ทางคาร์บอน” ในพื้นที่มาบตาพุด ตลอดจนมีการ ติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน ให้เกิดประโยชน์ สูงสุดต่อไป
ด้านนาย นาชิดะ คาซูยะ เอกอัครราชทูต วิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็ม แห่งประเทศญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย เป็นมิตรที่ดี ของประเทศไทย และ พร้อมสนับสนุน ความ
เป็น กลาง ทางคาร์บอน ในภาคอุตสาหกรรม ของประเทศไทย โดยคาดหวัง ถึงอนาคต ของความเป็นกลาง ทางคาร์บอน ของทั้งญี่ปุ่น และ ไทย
โดย มองว่า การลดคาร์บอน ของภาคอุตสาหกรรม จะช่วยส่งเสริม การเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศไทย และ ห่วงโซ่ คุณค่าไฮโดรเจน ในอาเซียน ที่มีต้นกำเนิด มาจากประเทศไทย
นาย นพดล กล่าวว่า ปตท. เล็งเห็นความสำคัญ ของการพัฒนา พลังงานสะอาด และ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยน สำคัญในการพัฒนา พลังงานระดับโลก โดยมุ่งเน้นการ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ ความ
ร่วม ลงนาม ครั้งนี้ แสดงให้เห็น ถึงความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจ และ สังคมที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้อง กับแนวโน้ม การเปลี่ยนแปลงพลังงาน ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งต้องก ารการสนับสนุน อย่างมากจากฝ่าย
ต่า งๆ โดยเชื่อว่า โครงการนี้ จะสามารถแสดง ให้เห็นถึงการ นำเทคโนโลยีขั้นสูง และ สะอาดมาใช้ในนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด และ ทำให้ไทยก้าวไปสู่ สังคมคาร์บอนต่ำ และ นำไปสู่
การพัฒนาพลังงาน ที่ยั่งยืน ร่วมกัน
ต่อไ ป