
SABUY ตั้งเป้ารายได้ปี 65 โตกว่า 50%หลังทำ 6 ดีลใหม่-จัดงบ 1.5-2 พันลบ.ทำดีล M&A-JV
นายชูเกียรติ รุจนพรพจี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. สบาย เทคโนโลยี (SABUY) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ปี 65 จะสามารถเติบโตไม่ต่ำกว่า 50% โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของธุกิจ 4 กลุ่มหลัก คือ Payment คือกลุ่มธุรกิจตู้เติมเงินอัตโนมัติ , Solution คือ กลุ่มธุรกิจจัดส่งพัสดุ (Drop off) ,Financial กลุ่มธุรกิจเชื่อมต่อการเงิน-บริการชำระเงิน
อาทิ เช่น เอทีเอ็ม และ เอดีเอ็ม สุดท้ายคือ Merchandiseกลุ่มธุรกิจตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) ซึ่ง เป็นการรับรู้ รายได้จากการ ให้บริการ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการตามสัญญาและดอกเบี้ยผ่อนชำระ ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน บริษัทได้อนุมัติ เข้าลงทุนใน หกดีล ที่จะเข้ามา สร้างเสริม การเติบโต ของผลประกอบการ ในปี 65 เป็น สัดส่วนอย่างน้อย 10-20% ของ ภาพผลประกอบการ โดยรวมคือ
1.อนุมัติให้ SABUYเข้าลงทุนในบริษัท แพลท ฟินเซิร์ฟ จำกัด โดยซื้อหุ้นสามัญ ในสัดส่วน 50% จาก บริษัท แคช แมชชีน แคปปิตอล จำกัด มูลค่า การลงทุน ไม่เกิน 1,130,000,000 บาท โดย ชำระเป็นเงินสด
360ล้านบาท และ ที่เหลือ 770ล้านบาท จะชำระเป็นหุ้น โดย SABUYออกหุ้น เพิ่มทุน 70 ล้านหุ้น
เพื่อ ขายแบบเฉพาะ เจาะจง เสนอขายที่ 11 บาท/หุ้น โดย พีเอฟเอสPFS ได้สิทธิ ติดตั้ง ตู้ เอทีเอ็ม จำนวน 10,000 ตู้หน้าร้าน 7-11 ทั่วประเทศ เป็นเวลา 10 ปี และ จะให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ผ่านตู้ เอทีเอ็ม แทนบริการ ด้วยพนักงาน
2. อนุมัติให้กลุ่ม SABUY เข้าซื้อทรัพย์สินธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ จำนวน 4,600 ตู้จาก บจก. ฟอร์ท เวนดิ้ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ. ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น เป็นเงินไม่เกิน 340ล้าน
บาท ทำให้ กลุ่มบริษัท สบาย เทคโนโลยี มีตู้สินค้าอัตโนมัติ เพิ่มขึ้น และ มีศักยภาพ ในการแข่งขัน เป็นหนึ่งในผู้นำตลาด อย่างแท้จริง
3. อนุมัติให้ SABUYร่วมทุน กับ บมจ. ฟอร์ทสมาร์ท ในสัดส่วน การถือหุ้น50% เพื่อจัดตั้ง บริษัทใหม่ ดำเนินธุรกิจเครือข่าย ร้านรับส่งพัสดุ ซ่อมแซมตู้จำหน่ายสินค้า และ พัฒนาธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต โดย
SABUYจะถือหุ้น 50% ด้วยมูลค่าการลงทุน ไม่เกิน 10ล้านบาท
4. อนุมัติ สบาย เทคโนโลยี ขยายธุรกิจ เครือข่าย ร้านรับส่งพัสดุ ทั่วประเทศ เพื่อ รองรับธุรกิจ E-Commerce & e-Logisticsโดยการเข้าซื้อหุ้น ในสัดส่วน 70% ใน บริษัท เดอะ เลตเตอร์ โพสต์ เซอร์วิส จำกัด ด้วยมูลค่า การลงทุน ไม่เกิน
42 ล้านบาท ซึ่งช่วย เพิ่ม สาขาบริการ ให้กับกลุ่ม ได้อีกกว่า 750 สาขา
5. อนุมัติ เข้าซื้อหุ้น ในสัดส่วน 60% ในบริษัท เอ็มพ้อยท์เอ็กซ์เพรส จำกัด ด้วยมูลค่า การลงทุนไม่เกิน 24ล้านบาท ทำให้มีสาขาเพิ่มขึ้น อีกกว่า 800 สาขา
6. อนุมัติให้ SABUYเพิ่มการลงทุน ในบริษัท เอ. ที. พี. เฟรนส์ เซอร์วิส จำกัด (ชิปป์สไมล์) ซื้อหุ้นเพิ่ม ไม่เกิน 10% ด้วยเงิน ไม่เกิน 37.50 ล้านบาท จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ทำให้ SABUY เพิ่มการถือหุ้นใน Shipsmile จาก 38%
เป็น ไม่เกิน 48% ดังนี้ บริษัทได้เตรียมงบลงทุน ไว้ราว 1,500-2,000ล้านบาท เพื่อ ที่ใช้ในการ เข้าซื้อกิจการ และ ร่วมลงทุน
เพื่อที่ จะขยายEcosystem ในธุรของ บริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม การเงิน ที่คาดว่าจะทยอย เห็นความชัดเจน ต่อเนื่อง ในปี 65โดยบริษัท มีความสามารถ ในการขยายกิจการ ในรูปแบบของ การร่วมลงทุน และ การ
เข้าซื้อกิจการ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่า ในช่วงปลายปี 64นี้บริษัท จะมีอัตรส่วนหนี้สิน ต่อทุน ที่ต่ำกว่า 1 เท่า จึงยังมีความสามารถ ในการกู้ยืม ได้เพิ่มเติม
“พวกเรายังมี กลยุทธ์การขยายกิจการ ทั้งการขยายกิจการ ด้วยตัวเอง การร่วมลงทุน และ การเข้าซื้อกิจการ เพื่อที่จะเสริมเข้ามาใน Ecosystemของ บริษัท โดยจะเริ่มเห็ นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ช่วงต้นปี65”
นายชูเกียรติ กล่าว
ก่อนหน้านี้ บริษัทฯ ได้เป็นพันธมิตร ทางธุรกิจกับกลุ่ม บมจ.ที.เค.เอส.เทคโนโลยี ซึ่ง เป็นกลุ่มบริษัท ที่เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน และ เชื่อว่า SABUY และ TKS จะสามารถ ร่วมกันต่อยอดธุรกิจ โดยการ
สร้างสรรค์นวัตกรรม ใหม่ๆ โดยเฉพาะด้าน E-Money ที่ตอบสนอง ความต้องการของลูกค้ าและ ผู้บริโภค ในยุคดิจิตอลได้อย่างรวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ
SABUY จับมือ ร่วมทุนเปิด ตัว บริษัทเทโรสบาย จำกัด ผนึกกำลัง ด้านสื่อโฆษณา การจัดอีเว้นท์ ระดับโลก และ เทคโนโลยี เชื่อมต่อธุรกิจบันเทิง อย่างครบวงจร การร่วมมือกันในครั้งนี้ นับเป็นการผนึก เอาความแข็งแกร่ง
ของ Digital Media & Marketing จากกลุ่มเทโร เข้ากับ Technology & Payment Platformของกลุ่ม สบายได้อย่างลงตัว
SABUY Group ได้ขยายธุรกิจ ใน SABUY Ecosystem อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้ลงทุน และ ขยายธุรกิจร่วม กับพันธมิตรธุรกิจ ในหลากหลายกิจการ อาทิ เช่น ธุรกิจ CRM & Loyalty
Program, ธุรกิจ Payment System, ธุรกิจ E-Commerce, ธุรกิจ Supply Chain
ซึ่งเริ่มแรก ในธุรกิจอาหาร เป็นลำดับแรก เพื่อ เพิ่มความแข็งแกร่ง ให้กับ Ecosystemทั้งแบบ Online และ Offline เพื่อตอบสนองสังคมไร้เงินสด (Cashless society) และ e-payment ต่างๆ และสร้างผลประกอบการให้
เติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง