
เป็นโรคกระเพาะ ควรกินและห้ามกินอะไรบ้าง ?
ผู้ป่วยโรคกระเพาะ ต้องระวังให้มากในการเลือกอาหาร อาหารบางชนิดอาจทำให้กระเพาะระคายเคืองและทำให้อาการแย่ลงได้ การเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจนปวดท้อง ท้องอืด และรู้สึกแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาหารไม่ย่อยอาจช่วยควบคุมอาการของโรคกระเพาะได้ และทำให้อาการแย่ลง
โรคกระเพาะ กับการเลือกรับประทานอาหาร
โรคกระเพาะ คือ ความผิดปกติที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือเรื้อรัง และมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อโรค โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (H. Pylori) ผู้ป่วยโรคนี้มักมีอาการไม่รุนแรง และหายเป็นปกติได้ในเวลาอันรวดเร็วหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แต่โรคกระเพาะอาหารบางประเภทอาจก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตามมาได้
อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารบางชนิดอาจช่วยควบคุมอาการป่วยไม่ให้รุนแรงขึ้น หรือช่วยบรรเทาอาการป่วยได้ แต่ผู้ป่วยก็ควรรับการรักษาการเจ็บป่วยที่เป็นสาเหตุของโรคกระเพาะด้วย อย่างโรคติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร และหลีกเลี่ยงปัจจัยต้นเหตุอย่างการดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารรสเผ็ดหรืออาหารบางอย่างที่กระตุ้นให้มีอาการกำเริบ รวมทั้งควรสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการรุนแรงหรือมีอาการป่วยเกิดขึ้นอย่างเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง ควบคู่กับปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารไปด้วย
อาหารที่ดีต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ
อาหารแต่ละชนิดที่คนเรารับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารและสุขภาพโดยรวมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคกระเพาะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่ส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และมีคุณสมบัติช่วยบรรเทาอาการป่วยด้วย ดังนี้
- อาหารที่อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร เช่น พืชตระกูลถั่ว แครอท บร็อกโคลี่ ข้าวโอ๊ต แอปเปิ้ล เป็นต้น
- อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ หรืออาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง อย่างผักชนิดต่าง ๆ
- อาหารที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เป็นต้น
- อาหารที่ปรุงโดยเลือกใช้น้ำมันมะกอกและน้ำมันคาโนลาเป็นหลัก
- ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวกล้อง เป็นต้น
- เครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส และไม่มีคาเฟอีน
- อาหารที่ดี ช่วย ทำให้การออกกำลัง สุขภาพแข็งแรง
- อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ในกลุ่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กะหล่ำดอง กิมจิ ชาหมัก โยเกิร์ต เป็นต้น เนื่องจากมีงานวิจัยที่พบว่า โพรไบโอติกส์อาจช่วยป้องกันโรคติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคกระเพาะและการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้
นอกจากการเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ผู้ป่วยควรปรับพฤติกรรมการบริโภคให้เหมาะสมด้วย ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ โดยให้หันมารับประทานอาหารทีละน้อย ๆ แต่รับประทานให้บ่อยครั้งขึ้นแทน
อาหารที่ผู้ป่วยโรคกระเพาะไม่ควรรับประทาน
ร่างกายของผู้ป่วยโรคกระเพาะอาจตอบสนองต่ออาหารแต่ละชนิดแตกต่างกัน ผู้ป่วยแต่ละรายจึงควรสังเกตอาการตนเองขณะรับประทานอาหารแต่ละชนิด และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้อาการป่วยแย่ลง ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นอาหารที่มีรสเผ็ด เปรี้ยว หรือมีฤทธิ์เป็นกรด และอาหารที่มีไขมันสูง ดังนี้
- อาหารทอด
- ผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ อย่างซอสมะเขือเทศ หรือน้ำมะเขือเทศ
- นมสด และผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากนมสดหรือครีม
- พริกและพริกไทย ทั้งในรูปแบบพริกหรือพริกไทยสด พริกป่น พริกไทยป่น หรือซอสพริก
- เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หรือเบคอน เป็นต้น
- ช็อกโกแลต นมช็อกโกแลต และโกโก้ร้อน
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างชา หรือกาแฟ
- เครื่องดื่มอัดแก๊ส อย่างน้ำอัดลม หรือโซดา
- ชาเขียว ชาดำ หรือกาแฟปราศจากคาเฟอีน
- น้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำส้มหรือน้ำเกรปฟรุต
- ปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่เหนือสะดือ เช่น แสบร้อน, แน่นอึดอัดท้องหลังรับประทานอาหาร, อิ่มเร็วกว่าปกติ บางรายอาจมีเรอหรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
- อาจมีอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ เรอเปรี้ยว หรือแสบร้อนหน้าอกร่วมด้วยได้
โรคกระเพาะอาหาร…เกิดจากสาเหตุอะไร ?
- การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
- การรับประทานยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน
- การรับประทาน ยาแก้อักเสบ หรือแก้ปวดจำพวกที่ใช้ในโรคกระดูกและข้อ
- การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่
- ภาวะความเครียด, ความวิตกกังวล
- การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่ชื่อ Helicobacter pylori สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของคนเรา มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะได้เช่นกัน
- การมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นได้ทั้งเนื้อดี และเนื้อร้ายอีกด้วย
การรักษาโรคกระเพาะอาหารอย่างไรให้ถูกวิธี
การรักษาโดยหลักมี 2 แบบ คือ
- การรักษาด้วยยา โดยจะรักษาตามสาเหตุ เช่น มีการติดเชื้อแพทย์จะให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หากผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะไว แพทย์จะให้ยาลดอาการของโรคกระเพาะ
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา เช่น การผ่าตัดกรณีที่มีเนื้องอกในกระเพาะอาหาร, การปรับอาหาร, การออกกำลังกาย